วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาพของธัญพิมล
https://plus.google.com/u/0/photos
แนะนำตัว

ชื่อ นางสาวธัญพิมล  แก้วอินทร์ ชื่อเล่น แจน
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การกล่าวสุทรพจน์

 สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ดีงาม ไพเราะจับใจ การพูดสุนทรพจน์มักมีในพิธีสำคัญ เช่น พิธีต้อนรับแขกเมืองคนสำคัญ พิธี
ได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีหรือกล่าวในงานฉลองระลึกถึงบุคคลสำคัญ วันสำคัญ ระดับชาติ หรือเป็น
การกล่าวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงใจ เป็นคำพูดที่แสดงความปรารถนาดีในทางการเมือง การกล่าวสุนทรพจน์
เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง มักได้รับการยกย่องว่าเป็นการพูดชั้นยอด 


ลักษณะการพูดสุนทรพจน์      ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ
      โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม
      กระตุ้นผู้ฟัง มีความมั่นใจและยินดีร่วมมือ
      สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษาและให้ความสุขแก่ผู้ฟัง 


โครงสร้างทั่วไปของการพูดสุนทรพจน์     ๑.   ตอนเปิดเรื่อง กระตุ้นให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะพูด 
  
     ๒.  ดำเนินเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาสาระลำดับความสำคัญอย่างชัดเจน
     ๓.  ตอนจบเรื่อง สรุปความทิ้งท้ายให้ผู้ฟังนำไปคิด หรือฝากไว้ในความทรงจำตลอดไป 

โครงสร้างและขั้นตอนของสุนทรพจน์          คำนำ หรือการเริ่มต้น (Introduction) เป็นการบอกกล่าวว่าผู้พูดเป็นใคร พูดในฐานะอะไรในโอกาสใด แล้วนำเข้าสู่เนื้อหา
ด้วยวิธีการที่เร้าความสนใจ เช่นใช้สุภาษิต คำคม หรือเหตุการณ์ปัจจุบันที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่จะกล่าวต่อไป

          เนื้อเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่อง (Discussion) ควรแยกประเด็นเป็นข้อๆ โดยคำนึงถึงเอกภาพ คือความเป็นหนึ่งเดียว
ของเรื่อง สัมพันธภาพคือความเกี่ยวเนื่องกัน และสารัตถภาพ หรือการเน้นย้ำประเด็นสำคัญของเรื่อง แต่ละประเด็นต้องมีข้อมูล
หลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และมีตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน 

          สรุปจบ หรือการลงท้าย (Conclusion)  อาจทำได้หลายวิธี เช่น สรุปทบทวนประเด็นเนื้อหาเสนอข้อคิด หรือแนวทางการ
ปฏิบัติเน้นประเด็นสำคัญ และแสดงความหวังว่า น่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ 


คำาราชาศัพท์

วามหมายของคำราชาศัพท์
        คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของ ไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงใน ความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
  4. ขุนนาง ข้าราชการ
  5. สุภาพชน
คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์


คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ
 คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม

คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์
หัว(พระมหากษัตริย์)พระเจ้าหัวพระเศียร
ผม(พระมหากษัตริย์)เส้นพระเจ้าผมพระเกศา,พระเกศ,พระศก
หน้าผากพระนลาฎคิวพระขนง,พระภมู
ขนระหว่างคิวพระอุณาโลมดวงตาพระจักษุ,พระนัยนา,พระเนตร
จมูกพระนาสา,พระนาสิกแก้มพระปราง
ปากพระโอษฐ์ฟันพระทนต์
ลิ้นพระชิวหาคางพระหนุ
หูพระกรรณคอพระศอ
ดวงตาพระพักตร์หนวดพระมัสสุ
บ่า,ไหล่พระอังสาต้นแขนพระพาหา,พระพาหุ
ปลายแขนพระกรมือพระหัตถ์
นิ้วมือพระองคุลีเล็บพระนขา
ห้องพระอุทรเอวพระกฤษฎี,บั้นพระเอว
ขา,ตักพระเพลาแข้งพระชงฆ์
เท้าพระบาทขนพระโลมา
ปอดพระปัปผาสะกระดูกพระอัฐิ
หมวดขัตติยตระกูล

คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์
ปู่,ตาพระอัยกาย่า,ยายพระอัยยิกา,พระอัยกี
ลุง,อา(พี่-น้องชาย ของพ่อพระปิตุลาป้า,อา(พี่-น้องสาวของ พ่อ)พระมาตุจฉา
พ่อพระชนก,พระบิดาแม่พระชนนี,พระมารดา
พี่ชายพระเชษฐา,พระเชษฐภาตาน้องสาวพระราชธิดา,พระธิดา
หลานพระนัดดาแหลนพระปนัดดา
ลูกเขยพระชามาดาลูกสะใภ้พระสุณิสา

หมวดเครื่องใช้

คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์
ยาพระโอสถแว่นตาฉลองพระเนตรหวีพระสาง
กระจกพระฉายน้ำหอมพระสุคนธ์หมวกพระมาลา
ตุ้มหูพระกุณฑลแหวนพระธำมรงค์ร่มพระกลด
ประตูพระทวารหน้าต่างพระบัญชรอาวุธพระแสง
ฟูกพระบรรจถรณ์เตียงนอนพระแท่นบรรทมมุ้งพระวิสูตร
ผ้าห่มนอนผ้าคลุมบรรทมผ้านุ่งพระภูษาทรงผ้าเช็ดหน้าผ้าชับพระพักตร์
น้ำพระสุธารสเหล้าน้ำจัณฑ์ของกินเครื่อง
ช้อนพระหัตถ์ ช้อนข้าวพระกระยาเสวยหมากพระศรี



ปริศนาคำทาย

               ปริศนาคำทาย หมายถึง "ถ้อยคำที่ยกขึ้นเป็นเงื่อนงำเพื่อให้แก้ ให้ทาย การเล่นทายกันมักนิยมกันในหมู่เด็ก ๆ หรือผู้ใหญ่ก็ยกคำทายเพื่อมาทายเด็ก เป็นการฝึกสมอง ลองปัญญาและก่อให้เกิดความบันเทิงใจด้วย การเล่นปริศนาคำทาย นอกจากจะฝึกสมองลองปัญญาแล้ว ยังฝึกให้เด็ก ๆ รู้จักจำ รู้จักสังเกต เป็นวิธีการสอนเด็กที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง"

ลักษณะของปริศนาคำทาย

ปริศนาคำทายมีองค์ประกอบหลัก ๒ ส่วนคือ ปริศนา และคำเฉลย

ลักษณะเด่นทางเนื้อหา
ปริศนาคำทายนั้นมีเนื้อหาหลากหลาย แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วสามารถสรุปลักษณะเด่นทางเนื้อหาได้เป็น ๓ ประการ คือ เนื้อหาเกิดจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื้อหาเกิดจากความใส่ใจภาษา และเนื้อหาเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่แหวกขนบ 
๑) เนื้อหาเกิดจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น
  • อะไรเอ่ย  ต้นเท่าลำเรือ  ใบห่อเกลือไม่มิด    (เฉลย : ต้นมะขาม)
๒) เนื้อหาเกิดจากความใส่ใจภาษา

       อะไรเอ่ย  เจ๊กขาย  ไทยเขียน (เฉลย :  เทียนไข)
 
๓) เนื้อหาเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่แหวกขนบ

     ปัญหาวิชาการ : สองบวกสอง ได้อะไร       (คำตอบ :  สี่)

    ปริศนาคำทาย :  สองบวกสอง ได้อะไร     (เฉลย : กระต่าย  พูดพร้อมยกมือที่ชูนิ้วชี้และนิ้วกลางทั้งสองข้างขึ้นไปวางไว้เหนือศีรษะ)

การขับเสภา

การขับเสภา

การขับเสภาเป็นการเล่าเรื่องประเภทหนึ่งโดยกำเนิดมาจากการเล่า

นิทาน เมื่อการเล่านิทานเริ่มแพร่หลายจึงได้แต่งเป็นกลอนใส่ทำนอ

โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

วิวัฒนาการการขับเสภา

การขับเสภาสันนิษฐานว่าเกิดในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ใน

ยุคแรกยังไม่มีดนตรีประกอบ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ

เลิศหล้านภาลัยจึงมีวงปี่พาทย์ประกอบ

ประเภทของการขับเสภา

การขับเสภาแบ่งตามลักษณะการแสดงได้ 2 ประเภทดังนี้

1.เสภาทรงเครื่อง เกิดในยุครัชกาลที่ 4 โดยการขับเสภาประเภท
นีจะมีการร้องส่งให้ปี่พาทย์รับด้วย

2.เสภารำ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเสภารำนี้จะมีคนขับเสภา
และปี่พาทย์(บางครั้งก็ใช้วงมโหรีแทน) มีตัวละครออกมาแสดง
ตามคำขับเสภา และมีการเจรจาตามเนื้อร้อง    เสภาที่นิยมขับ 
เช่นในเรื่องขุนช้างขุนแผน

การผวนคำ

                     คำผวน เป็นวิธีการสลับคำ โดยใช้สระและ ตัวสะกด

ของพยางค์หน้า

และพยางค์สุดท้าย มาสลับกัน ทำให้เกิดคำใหม่ที่อาจไม่มี

ความหมาย แต่การออกเสียงจะคล้องจองกับรูปเดิม ทำให้สื่อความ

หมายกันได้ 

               คำผวนนั้นนิยมใช้กับคำสองหรือสามพยางค์เป็น

ส่วนใหญ่ เพราะสามารถสลับตำแหน่งได้ง่าย คำพยางค์เดียวนั้นไม่

สามารถผวนได้ ส่วนคำหลายพยางค์ อาจต้องแยกเป็นส่วนๆ 

ไม่สามารถสลับตำแหน่งอย่างคำน้อยพยางค์ วิธีการสร้างคำผวน 

เรียกว่า "ผวน" หรือ "การผวนคำ"

ตัวอย่าง

พักรบ   ผวนเป็น พบรัก

นักร้อง  ผวนเป็น น้องรัก